เมนู

7. อุคคสูตร


[7] ครั้งนั้นแล มหาอำมาตย์ของพระราชาชื่อว่าอุคคะ ได้
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ไม่เคยมีมา โดยเหตุที่มิคารเศรษฐีผู้เป็นหลานโรหณเศรษฐี.
เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมากถึงเพียงนี้ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนอุคคะ ก็มิคารเศรษฐีหลานโรหณเศรษฐี
มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมากสักเท่าไร.
อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีทองแสนลิ่ม จะกล่าวไปไยถึงเงิน.
พ. ดูก่อนอุคคะ ทรัพย์นั้นมีอยู่แล เรามิได้กล่าวว่าไม่มี แต่
ทรัพย์นั้นแลเป็นของทั่วไปแก่ไฟ น้ำ พระราชา โจร ทายาทผู้ไม่เป็น
ที่รัก ดูก่อนอุคคะ ทรัพย์ 7 ประการนี้แล ไม่ทั่วไปแก่ไฟ น้ำ พระ-
ราชา โจร ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก 7 ประการเป็นไฉน คือ ทรัพย์คือ
ศรัทธา 1 ศีล 1 หิริ 1 โอตตัปปะ 1 สุตะ 1 จาคะ 1 ปัญญา 1
ดูก่อนอุคคะ ทรัพย์ 7 ประการนี้แล ไม่ทั่วไปแก่ไฟ น้ำ พระราชา
โจร ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก.
ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ
สุตะ จาคะ และปัญญาเป็นที่ 7 ทรัพย์เหล่านี้
มีแก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือชายก็ตาม เป็นผู้มีทรัพย์
มากในโลก อันอะไร ๆ พึงผจญไม่ได้ในเทวดา

และมนุษย์ เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญา เมื่อ
ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึง
ประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และการ
เห็นธรรม.

จบสูตรที่ 7

อรรถกถาอุคคสูตรที่ 7


อคคสูตรที่ 7

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อุคฺโค ราชมหามตฺโต ได้แก่ มหาอำมาตย์ ของพระเจ้า
ปเสนทิโกศล. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า เป็นผู้บริโภคอาหารเช้า
เสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้า.
บทว่า อทฺโธ ความว่า เป็นผู้มั่งคั่งเพราะทรัพย์ที่เก็บไว้.
ด้วยบทว่า มิคาโร โรหเณยฺโย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอา
มิคารเศรษฐีเป็นหลานแห่งโรหณเศรษฐี. บทว่า มหทฺธโน ได้แก่
เป็นมีทรัพย์มากโดยทรัพย์สำหรับใช้สอย. บทว่า มหาโภโค
ได้แก่ เป็นผู้มีโภคะมาก เพราะมีสิ่งอุปโภคและปริโภคมาก บทว่า
หิรญฺญสฺส ได้แก่ทองคำนั้นเอง. จริงอยู่ เฉพาะทองคำของเศรษฐีนั้น
นับได้จำนวนเป็นโกฏิ. บทว่า รูปิยสฺส ความว่า กล่าวเฉพาะเครื่อง
จับจ่ายใช้สอย เช่นที่นอน เสื่ออ่อน ขัน เครื่องลาด และเครื่องนุ่งห่ม
เป็นต้น จะประมาณไม่ได้เลย.
จบ อรรถกถาอุคคสูตรที่ 7